มีนักวิชาการได้ให้ความหมายขององค์การไว้ ดังนี้
แมกซ์ เวเบอร์ (Max
Weber) กล่าวว่า องค์การ หมายถึง
หน่วยสังคมหรือหน่วยงานซึ่งมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
เชสเตอร์
บาร์นาร์ด กล่าวว่า องค์การ หมายถึง
ความร่วมมือกันระหว่างบุคคลหลายคนซึ่งมีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
เอมิไท เอตชิโอนิ (Amitai
Etzioni) กล่าวว่า องค์การ หมายถึง
สังคมหรือหน่วยคนที่ตั้งขึ้นอย่างจงใจ เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง
ธงชัย สันติวงษ์ กล่าวว่า
องค์การคือการจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูปและการมอบหมายงายให้คนปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
ศิริวรรณ เสรีรัตน์
และคณะ กล่าวว่า องค์การคือ กระบานการที่กำหนดกฎ
ระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติงานขององค์การซึ่งรวมถึงวิธีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
สมบูรณ์ ศรีสุพรรณดิษฐ์ ได้เสนอความหมายขององค์การไว้ว่า
เป็นระบบประสานกิจการของกลุ่มคนซึ่งร่วมงานกัน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมภายใต้การสั่งการและความเป็นผู้นำ
สมคิด บางโม กล่าวว่า องค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายๆคนรวมกลุ่มกันอย่างถาวร
มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละคน







จากความหมายขององค์การระดับต่างๆ
ที่กล่าวทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า องค์การ คือกลุ่มบุคคลที่มาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้งานดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
โดยมีระบบของการประสานงานอย่างเหมาะสม
องค์การ
VS
องค์กร
🐷 องค์กร (Organ) คือ ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่
ทําหน้าที่ สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน
1.
แบ่งตามความมุ่งหมายที่จัดตั้งขึ้น
❖ องค์การเพื่อผลประโยชน์ร่วมของสมาชิก (Mutual-benefit) เช่น พรรคการเมือง สมาคม และสหกรณ์
❖ องค์การเพื่อธุรกิจ (Business concern) เช่น บริษัท
ห้างร้าน และ ธนาคาร
❖ องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal organization) เช่น
กระทรวง ทบวง กรม กอง
❖ องค์กรเพื่อการบริการ (Service organization) เช่น
โรงเรียน โรงพยาบาล
2.
แบ่งตามหลักการจัดระเบียบภายในองค์การ
❖ องค์การรูปนัย (Formal
Organization) ซึ่งเป็นองค์การที่มีระเบียบแบบแผน
มีโครงสร้างที่ชัดเจน
❖ องค์การอรูปนัย (Informal
Organization) คือการที่กลุ่มบุคคลมรวมตัวกันเป็นสังคมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนไม่มีรูปแบบเฉพาะ
โครงสร้างหลวมๆโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบไม่เป็นทางการ โดยอาจมีความเชื่อทัศนคติ
ค่านิยม และรสนิยมที่ตรงกัน
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งองค์การออกเป็น
2 แบบ ได้แก่
1.องค์การแบบแนวดิ่ง
(Vertical Organization) คือ องค์การที่มีขั้น
การบังคับบัญชา (Chain of Command) ลดหลั่นกันลงมา เช่น
งานทางการทหาร และงานประเภทโรงงาน
2.องค์การแบบแนวราบ (Horizontal
Organization) เป็นรูปแบบของ องค์การที่เหมาะกับงานที่ต้องการการปรึกษาหารือร่วมกัน
เช่น งานด้านวิชาการและงานวิชาชีพ
1.เพื่อสร้างคุณค่าที่สังคมปรารถนาโดยเฉพาะหน่วยงานราชการเพื่อบริการประชาชนสร้างสรรค์ความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน
ตลอดจนคุ้มครองความปลอดภัยต่าง ๆ และพัฒนาประเทศ
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน และกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การเพราะความต้องการของสมาชิกในกลุ่มมีความแตกต่างกัน เช่น
1. บางคนต้องการเงิน
2. บางคนต้องเกียรติยศชื่อเสียง
3. บางคนต้องการผลประโยชน์
3. เพื่อความดำรงอยู่และความเจริญขององค์การ สมาชิกทุกคนต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย เช่น งานราชการ ต้องทำหน้าที่บริการประชาชน งานธุรกิจเอกชน ต้องทำหน้าที่ให้ได้กำไรมากที่สุด ท้ายสุดองค์การก็เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป
สรุปแล้ววัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้
1. สร้างสรรค์สินค้าและบริการ
2. สนองตอบความต้องการของสมาชิกและสังคม
3. ความดำรงอยู่ตลอดไป
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน และกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การเพราะความต้องการของสมาชิกในกลุ่มมีความแตกต่างกัน เช่น
1. บางคนต้องการเงิน
2. บางคนต้องเกียรติยศชื่อเสียง
3. บางคนต้องการผลประโยชน์
3. เพื่อความดำรงอยู่และความเจริญขององค์การ สมาชิกทุกคนต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย เช่น งานราชการ ต้องทำหน้าที่บริการประชาชน งานธุรกิจเอกชน ต้องทำหน้าที่ให้ได้กำไรมากที่สุด ท้ายสุดองค์การก็เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป
สรุปแล้ววัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้
1. สร้างสรรค์สินค้าและบริการ
2. สนองตอบความต้องการของสมาชิกและสังคม
3. ความดำรงอยู่ตลอดไป
ในการทํางานในองค์การที่ต้องมีการตัดสินใจว่าจะทําอะไรบ้าง
จะรายงานเรื่องราวต่างๆ กับใคร วิธีหนึ่งของการจัดโครงสร้างองค์การ และการสร้างสรรค์องค์การ
คือ การจัดผังแสดงโครงสร้างองค์การ (Organization Chart) ซึ่งเป็นการจัดผังที่แสดงตําแหน่งต่างๆ
ทั้งหมด ในองค์การและความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่แต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแสดงตําแหน่งต่างๆ
ที่เชื่อมโยงกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนอย่างมี ระบบเพื่อง่ายแก่การบริหาร
โครงสร้างองค์การเป็นแบบแผนที่กําหนดขอบเขตของงานและความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่
1.
โครงสร้างองค์การระบบราชการ (Bureaucratic Structure) เป็นลักษณะโครงสร้างองค์การซึ่งมีความซับซ้อนสูง มีความเป็น ทางการสูง เป็นระบบการจัดการโดยถือเกณฑ์โครงสร้างงานที่เป็น
ทางการของอํานาจหน้าที่ซึ่งกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดมีการติดตาม
การทํางานอย่างรัดกุม ทําให้โครงสร้างองค์การแบบนี้บางครั้งขาด
ความยืดหยุ่นเพราะมีขั้นตอนมากและแจทําให้เกิดความล่าช้าใน การทํางาน
2.
โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต (Organic Structure) เป็ น โครงสร้างองค์การที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีกฎเกณฑ์และ
ข้อบังคับเล็กน้อย มีความเป็นทางการน้อยกว่าระบบราชการ สามารถยืดหยุ่นได้
มีการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม และมีการ
กระจายอํานาจการตัดสินใจให้แก่พนักงานผู้ปฏิบัติตาม
3. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์(Matrix Structure) มีการพัฒนาแรกเริ่มจากการมีเป้าหมายของความสําเร็จตามโครงการ โครงสร้างของงานในโครงการมีการมอบหมายให้กับผู้ชํานาญการ จากแผนกงานที่มีหน้าที่ไปปฏิบัติในหนึ่งโครงการหรือมากกว่าหนึ่ง โครงการ
4. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก (Line or Hierarchy Organization Structure) คือ แต่ละหน่วยงานมีการกําหนดการสั่งการ และการควบคุม ผ่านสายบังคับบัญชาตามลําดับชั ้นจากผู้บริหารระดับสูงไปยัง ผู้ใต้บังคับบัญชาอันดับรองลงมาซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยจะรับคําสั่ง คําแนะนําและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาคนเดียว
5. โครงสร้างองค์กรแบบงานหลักและงานที่ปรึกษา (Line and Staff Organization Structure) การจัดโครงสร้างขององค์กรนี้จะมี หน่วยงานที่ปรึกษาเข้ามา เพื่อช่วยศึกษาค้นคว้าให้คําแนะนํา ให้บริการและแก้ปัญหาต่างๆ ให้หน่วยงานหลัก หน่วยงานที่ปรึกษา นี้จะเป็นอิสระขึ้นตรงกับผู้บริหารในฝ่ายหรือแผนกนั้นๆ
6. การจัดองค์การตามโครงงาน (Project Structures) คือ โครงสร้างที่เกิดขึ้นเมื่อมีโครงงานหรือปัญหาใหม่เข้ามา ผู้บริหารจะตั้งทีมงานขึ้นเป็นกลุ่มเพื่อจัดการกับโครงงานดังกล่าวและเมื่อ โครงการนั้นสิ้นสุดหน่วยงานนั้นๆจะถูกยุบลงไปด้วย
ตัวอย่างโครงสร้างองค์การที่ดี
1. สายการบังคับบัญชา
2.
การสื่อสารตามสายงาน
3.
เอกภาพในการบังคับบัญชา
4.
ขอบเขตของการบังคับบัญชา
5.
การแบ่งงานตามความรู้ความสามารถ
6.
การมีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายหลัก ๆได้แก่
เจ้าหน้าที่หลักรับผิดชอบงานในหน้าที่ ให้ สําเร็จตามเป้ าหมาย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายให้คําปรึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน
7.
การแบ่งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
8.
การประสานงาน
1.
การออกแบบงาน (Job design) การแบ่งงานภายในองค์การทั้งหมด
ออกเป็นแผนก กําหนดตําแหน่ง ลักษณะโครงสร้างงาน (Structure of work) การเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job enrichment) การขยายปริมาณงาน
(Job enlargement) การหมุนเวียนงาน (Job rotation) การทําให้งานง่ายขึ้น (Job simplification) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(Job specialization)
2. การจัดแผนก (Departmentalization)
✜การจัดตามหน้าที่ ✜การจัดตามผลิตภัณฑ์ ✜ การจัดตามที่ตั้ง
✜ การจัดตามแผนกกลุ่มลูกค้า ✜การใช้หลายเกณฑ์ร่วมกัน
✜การจัดตามหน้าที่ ✜การจัดตามผลิตภัณฑ์ ✜ การจัดตามที่ตั้ง
✜ การจัดตามแผนกกลุ่มลูกค้า ✜การใช้หลายเกณฑ์ร่วมกัน
3.
การมอบหมายงาน (Delegation)
✜ แบบกระจายอํานาจ ✜ แบบรวมอํานาจ
✜ แบบกระจายอํานาจ ✜ แบบรวมอํานาจ
4. ขนาดของการจัดการควบคุม (Span of
Management)
✜ แบบแนวนอน ✜ แบบสูง
✜ แบบแนวนอน ✜ แบบสูง
5. การจัดตามสายงานและที่ปรึกษา
ขอขอบคุณ http://www.elfms.ssru.ac.th
สืบค้นเมื่อวันที่
1 พ.ย 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น